รับทำบัญชีปทุมธานี

สํานักงานบัญชีรับทําบัญชีปทุมธานีรังสิตคลองหลวงธัญบุรี 29 ปี?

Click to rate this post!
[Total: 2604 Average: 5]

รับทำบัญชี

ประสบการณ์กว่า 30 ปี

สำนักงานบัญชีที่เข้าใจคุณมากที่สุด พร้อมทีมงานคุณ

ร้านค้าออนไลน์ ขายของออนไลน์

รับทำบัญชีปทุมธานี-1
รับทำบัญชีปทุมธานี-2

รับทําบัญชี ปทุมธานี

บริษัท ปังปอน จำกัด รับทำบัญชี ปทุมธานี เปิดให้บริการมาแล้วมากกว่า 20 ปี รับทำบัญชี บัญชีสรรพากร เป็น ” สำนักงานบัญชีคุณภาพ ” ที่รับรองโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) มาแล้วกว่า 10 ปี และ เป็น ” สำนักงานบัญชีตัวแทนสรรพากร “ สามารถจัดเก็บเงินภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย (Tax agent) เน้นการให้บริการทำบัญชีรายเดือน ปิดงบการเงินรายปี  ครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัด รับทำบัญชี ปทุมธานี และ นนทบุรี บึงยี่โถ แถวรังสิต ลำลูกกา ตลอดจน เขตพื้นที่ภายในกรุงเทพ

บริษัท ปังปอน จำกัด ให้บริการ

เราเน้นให้บริการผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาในการจัดทำบัญชี ไม่มีเวลาจัดเก็บเอกสาร ภาษีซื้อ ภาษีขาย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ    และ ผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับ การทำบัญชี และภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ เปิดกิจการใหม่ เป็นหลัก รับทำบัญชี ปทุมธานี  ลักษณะที่รับส่วนใหญ่ เป็นงานบริการ งานซื้อมาขายไป ขายของออนไลน์ เป็นต้น

รับทำบัญชีปทุมธานี-3

Services

 
รับทำบัญชีปทุมธานี-4
  • การยื่นแบบภาษี
  • ทำบัญชีบริษัท
  • ยื่นแบบ ภงด.53
  • ยื่นแบบ ภงด 50
  • ยื่นแบบ ภงด 51
  • ยื่นแบบ ภงด 3, ภงด 1
  • แบบภพ30
  • ภงด90,91
 
รับทำบัญชีปทุมธานี 6
  • ทําบัญชี บุคคลธรรมดา
  • รับตรวจสอบบัญชี
  • สมุด ราย วัน ขาย
  • ภาษี ครึ่ง ปี
  • การ บันทึก รายการ ค้า ใน สมุด ราย วัน ทั่วไป
  • บริษัทตรวจสอบบัญชี
  • สอบถาม ภาษี ปรึกษาการเสียภาษีที่ถูกต้อง
  • ตรวจสอบเงินสมทบประกันสังคม
 
 

ปรึกษา ปัญหาบัญชี สนใจ ใช้บริการ โทรเลย

 
การบัญชี คือ

รูปแบบองค์กรธุรกิจ

การประกอบธุรกิจอาจดําเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการ หรือ อาจดําเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้การที่จะตัดสินใจเลือกดําเนินธุรกิจการค้าใน รูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคํานึงถึงองค์ประกอบที่สําคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดําเนินธุรกิจ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้การประกอบ ประสบผลสําเร็จ และนํามาซึ่งผลประโยชน์และกําไรสูงสุด

 
 
รูปแบบองค์กรธุรกิจ

ตัวอย่างรูปแบบองค์กรธุรกิจ

  1. เจ้าของคนเดียว (Single proprietorship)
  2. หุ้นส่วน(Partnership)
  3. บริษัทจํากัด (Corporation)
  • เจ้าของคนเดียว (Single proprietorship) ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีเจ้าของลงทุนใน กิจการเพียงคนเดียวแต่อาจดําเนินธุรกิจในลักษณะของครอบครัว หรือญาติพี่น้อง โดยไม่ได้จดทะเบียน เป็นนิติบุคคล แต่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
  • ห้างหุ้นส่วน (Partnership) เป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือ ขนาดกลางที่มีเจ้าของตั้งแต่ 2 คน ขึ้น ไป ร่วมทุนในการดําเนินธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งผลกําไรขาดทุนตามอัตราส่วนที่ตกลงกันไว้ โดยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ได้
  • บริษัทจํากัด (Corporation) เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือ ขนาดใหญ่ ที่จัดตั้งขึ้นโดย การ่วมทุนของกลุ่มคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อทําหนังสือบริคณห์สนธิ และต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทุนของธุรกิจแบ่งออกเป็นจํานวนหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน โดยมีมูลค่าจดทะเบียนไม่ต่ํากว่า หุ้นละ 5 บาท ประกอบด้วย 1) หุ้นสามัญ (Common stock) และ 2) หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred stock) ผู้ที่ลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทเรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” มีสถานะเป็นเจ้าของธุรกิจ และจะได้รับ ผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล (Dividend)

ลักษณะการดําเนินงานของธุรกิจ

นอกจากนี้การดําเนินงานของธุรกิจยังสามารถแบ่งตามลักษณะรายได้ของธุรกิจ เป็น 2 ลักษณะคือ

  1. ธุรกิจบริการ (Service Business)
  2. ธุรกิจขายสินค้า ประกอบด้วย
    •  ธุรกิจซื้อสินค้าเพื่อขาย (Merchandising Business)
    • ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย (Manufacturing Business)
      • ธุรกิจบริการ (Service Business) เป็นธุรกิจที่มีรายได้จากการให้บริการลูกค้า และมี ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากต้นทุนการให้บริการและการดําเนินงาน ธุรกิจประเภทนี้ได้แก่ การขนส่งทางอากาศ สํานักงานรับทําบัญชี สํานักงานกฎหมาย อู่ซ่อมรถ ร้านเสริมสวย ธนาคาร และสถาบันการเงินต่าง ๆ เป็นต้น
      • ธุรกิจซื้อสินค้าเพื่อขาย (Merchandising Business) เป็นธุรกิจที่มีรายได้จากการขาย สินค้า และมีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากต้นทุนขายสินค้าและการดําเนินงาน ธุรกิจประเภทนี้ได้แก่ ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจค้าปลีก การขายผ่อนชําระ การฝากขาย และการเป็นตัวแทนจําหน่าย เป็นต้น ธุรกิจเหล่านี้ไม่ สามารถผลิตสินค้าเองได้ ต้องซื้อสินค้าจากผู้ผลิตเพื่อนํามาขายต่อ จึงมีลักษณะเป็นพ่อค้าคนกลาง ด้วย เหตุนี้ธุรกิจประเภทนี้จึงถูกเรียกอีกชื่อว่า “ธุรกิจซื้อมา-ขายไป”
      • ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย (Manufacturing Business) เป็นธุรกิจที่มีรายได้จาการขาย สินค้า และมีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากต้นทุนการผลิตสินค้า ต้นทุนการขายสินค้า และการดําเนินงาน ธุรกิจ ประเภทนี้ได้แก่ โรงงานทอผ้า โรงงานผลิตปลากระป๋อง ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น และด้วยธุรกิจ ประเภทนี้มีลักษณะในการผลิตสินค้าเองได้ และมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ในการผลิตสินค้า เราจึงเรียก ธุรกิจประเภทนี้ว่า “ธุรกิจการผลิต” หรือ “ธุรกิจอุตสาหกรรม”

การบัญชี

การบัญชี คือ ศิลปะของการรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีคือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในแต่ละกิจกรรม

จากคำจำกัดความของคำว่า “การบัญชี” สามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้

  1. ขั้นตอนของการเลือกและการเก็บรวบรวมคือการพิจารณาว่ารายการที่เกิดขึ้นเป็นรายการค้าหรือไม่ (เป็นเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่กิจการต้องนำมาบันทึกหรือไม่) ต้องเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อไว้ใช้ในการบันทึกบัญชี
  2. การจดบันทึกและการวัดมูลค่าเป็นการนำข้อมูลเอกสารจากขั้นตอนแรกมาบันทึกรายการทางบัญชีหรือรายการค้าและเหตุการณ์ ซึ่งจะต้องเป็นรายการหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วมาบันทึกลงในสมุดบัญชี เรียกว่า “สมุดรายวัน” (Journal) การบันทึกจะมีการวัดมูลค่าเข้ามาเกี่ยวข้อง การวัดมูลค่า หมายถึง การแสดงมูลค่าของรายการนั้น ๆ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเป็นรายการประเภทไหน เช่น วัดด้วยราคาทุน (ราคา ณ วันที่ได้มา) หรือวัดด้วยราคายุติธรรม (ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความเต็มใจในการซื้อขายกันv ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร)
  3. การใช้หน่วยเงินตราการบันทึกรายการทางบัญชีต้องใช้หน่วยเงินตรา เช่น บาท ดอลลาร์ เป็นต้น และถือว่าจำนวนที่บันทึกลงไปแต่ละหน่วยจะมีค่าคงที่ แม้ค่าของเงินจะเปลี่ยนแปลง
  4. การจัดหมวดหมู่เพื่อหายอดคงเหลือของทุกรายการโดยการแยกประเภทบัญชีเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ในการจัดหมวดหมู่จะใช้สมุดบัญชีที่เรียกว่า “สมุดแยกประเภท” (Ledger)
  5. การสรุปผลและการรายงานข้อมูลทางการเงินเมื่อมีการบันทึกบัญชีไประยะหนึ่ง จะต้องนำรายการที่จัดหมวดหมู่มาสรุปผลดำเนินการและฐานะของกิจการโดยจัดทำ “งบการเงิน” (Financial Statement) ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนคือ
    • กำไรขาดทุน
    • งบดุล
    • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น
    • งบกระแสเงินสด
    • นโยบายบัญชี และหมายเหตุประกอบงบการเงิน นโยบายบัญชี เป็นหลักการทางบัญชีที่กิจการใช้ในการจัดทำ และนำเสนองบการเงิน สำหรับหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญทำให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบหลักปฏิบัติทางบัญชีที่กิจการเลือกใช้ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน

ตกแต่ง1 01 scaled

 

การบัญชี และ การทำบัญชี

การทำบัญชีและการบัญชี สองคำนี้ยังมีผู้เข้าใจสับสนว่าเหมือนกันหรือแตกต่างกัน คำตอบคือสองคำนี้มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ การทำบัญชี (book keeping) เป็นส่วนหนึ่งของ การบัญชี (Accountimg)

การทำบัญชี กับ การบัญชี
 
 

งานของการทำบัญชี เป็นเรื่องของการบันทึกรายการค้าหรือข้อมูลทางบัญชีที่เกิดขึ้นในสมุดบัญชีจนกระทั่งจัดทำงบการเงินผู้ที่มีหน้าที่ในการบันทึกบัญชีเรียกว่า “ผู้ทำบัญชี” (Bookkeeper) ส่วนการบัญชีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบการบันทึกบัญชี การจัดทำรายงานการเงินและแปลความหมายของรายงานการเงิน นักบัญชี (Accountant) มีหน้าที่จัดวางระบบบัญชีของกิจการ ควบคุมและตรวจตรางานของผู้ทำบัญชี ดังนั้นนักบัญชีต้องเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์มากว่าผู้ทำบัญชี

ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี

  1. ทราบถึงความก้าวหน้าของกิจการ และประสบการณ์ในการดำเนินงานของผู้บริหาร
  2. ทราบถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการ
  3. ให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ใช้ข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการควบคุม และตัดสินใจ
  4. ให้ฝ่ายบริหารทราบถึงข้อบกพร่องในการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานในอนาคต

ผู้ใช้ข้อมูลทางบัญชี

  • ผู้ถือหุ้น (Stockholder) เป็นผู้นำเงินมาลงทุนในกิจการ (ในรูปเงินสดหรือสิ่งของก็ได้) ดังนั้นผู้ถือหุ้นก็ต้องการทราบผลการดำเนินงานว่ามีกำไรหรือขาดทุน มีการจ่ายเงินปันผลมากน้อยเพียงใด
  • เจ้าหนี้ (Creditor) เป็นผู้ที่ให้กิจการกู้เงิน หรืออาจให้เครดิตแก่กิจการในการชำระเงินสด ผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องการทราบความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ
  • ผู้บริหาร (Management Team) เป็นผู้ที่ได้รับผลตอบแทน ดังนั้นผู้บริหารต้องสนใจในผลประกอบการของกิจการรวมทั้งฐานะของกิจการ หากกิจการมีผลประกอบการที่ดี ฐานะการเงินที่มั่นคง ผู้บริหารก็จะได้รับผลตอบแทนจากกิจการที่ดี
  • คู่แข่งขัน (Competitor) ต้องการทราบเพื่อที่จะได้วางแผนกำหนดนโยบายของกิจการตัวเองเพื่อที่จะได้แข่งขันและอยู่รอดได้ในธุรกิจ
  • พนักงาน (Employee) เพื่อคาดการณ์การได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินเดือน โบนัส รวมทั้งจะได้พิจารณาถึงความมั่นคงของตัวเองในการทำงานที่กิจการ
  • ลูกค้า (Customer) หากลูกค้าต้องการที่จะสั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากกิจการก็ต้องพิจารณาถึงความมั่นคงของกิจการเพื่อพิจารณาว่าเมื่อสั่งสินค้าแล้วจะได้รับการจัดส่งตรงตามเวลาหรือไม่

จากผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี จะเห็นได้ว่าสามารถจำแนกประเภทของผู้ใช้งบการเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ ผู้ใช้งบการเงินภายในกิจการ และผู้ใช้งบการเงินภายนอกกิจการ จากหลักการนี้สามารถแบ่งประเภทของการบัญชีได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การบัญชีการเงิน และการบัญชีบริหาร หรือการบัญชีเพื่อการจัดการ

  1. การบัญชีการเงิน (Financial Accounting) หมายถึง การจัดทำบัญชีและการรายงานทางการเงินของกิจการที่จัดทำภายใต้กฎเกณฑ์หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือมาตรฐานบัญชี ให้แก่ผู้ใช้งบการเงินภายนอกกิจการ เพื่อใช้ประกอบการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจในการดำเนินการต่าง ๆ
  2. การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting) หมายถึง การจัดทำบัญชี และรายงานทางการเงินของส่วนงานต่าง ๆ ในองค์กรให้แก่ฝ่ายบริหารของกิจการเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจ การจัดทำข้อมูลทางบัญชีจะทำตามความเหมาะสม และตามความต้องการของฝ่ายบริหาร

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีที่สำคัญได้แก่

  1. พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543
  2. พระราชบัญญัติวิชาชีพการบัญชี พ.ศ.2547
  3. มาตราฐานการบัญชี (Account Standard)

ทำบัญชี

ผู้จัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 หมายถึงผู้ที่มีส่วนบริการงานเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีในธุรกิจของตนให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งธุรกิจและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจดังกล่าว ประกอบไปด้วย

ผู้จัดทำบัญชีดังกล่าวมีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำบัญชี ดังนี้

    • จัดให้มีเอการประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือหรือเอกสารใด ๆที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการบัญชี
    • ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ผู้ทำบัญชี
ประเภทธุรกิจ ผู้รับผิดชอบ
1. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน หุ้นส่วนผู้จัดการ
2. บริษัทจำกัด กรรมการ
3. บริษัทมหาชนจำกัด กรรมการ
4. นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย ผู้รับผิดชอบการดำเนินการในประเทศไทย
5. กิจการร่วมค้าตามประมาลรัษฎากร ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการ
6. สถานที่ประกอบธุรกิจเป็นประจำ ผู้จัดการ
7. บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ ประกอบ ธุรกิจผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก เทป ซีดี วีดีโอ เจ้าของหรือผู้จัดการ
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม

บทกำหนดโทษหากไม่จัดให้มีการทำบัญชี

ภงด 53 คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 69 ทวิ และการเสียภาษีตามมาตรา 65 จัตวา แห่งประมวลรัษฎากร

สรุป ให้เข้าใจง่ายๆ หลักๆ จะเป็นเงินที่หักจาก ค่าเช่า ค่าอาชีพอสระ ค่าจ้าง ค่าแรง เงินรางวัล ค่าขนส่ง เมื่อหักแล้วต้องนำส่งให้กรมสรรพากรในเดือนถัดไปหลังจ่ายเงินเดือน กำหนดจ่ายชำระก่อนวันที่ 7 ของทุก ๆ เดือน แต่จะหัก เฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น วิธีการหักคล้ายกับ ภ.ง.ด.3 อ่านเพิ่มเติม

ภาษีซื้อ ภาษีขาย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ้งประกอบไปด้วย

  • ภาษีซื้อ (Output Tax)
  • ภาษีขาย (Input Tax)

ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่เป็น ผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซื้อสินค้าหรือ ชำระค่าบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการ ของตน ภาษีซื้อที่จะนำมาหักได้นี้คลุมไปถึง ภาษีซื้อของสินค้าประเภททุนด้วย ปัจจุบันอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7 % และ 0 %

ภาษีขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือ ผู้รับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับค่า บริการ ปัจจุบันอัตราการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7 % และ 0 %

ตรวจสอบการยื่นภาษี

วิธีการตรวจสอบการยื่นภาษี ทั้งภาษี หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการคงอยากรู้ว่าเงินภาษีที่ส่งให้ ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานบัญชี หรือ บุคคลธรรมดาที่รับยื่นภาษี นำส่งเงินที่เราให้ไปแล้วหรือไม่?

ถ้าเงินภาษีที่เรานำส่งไม่ถึงมือ สรรพากร ปทุมธานี โดยปกติมักไม่ระบุเวลาที่แน่นนอน ในการที่สรรพากรจะแจ้งเตือนผู้ประกอบการให้ทราบว่า “ไม่ได้มีการนำส่งเงิน”  บางครั้งอาจนาน บางครั้งอาจใช้เวลาไม่นานขึ้นอยู่กับสรรพากรแต่ละหน่วยงาน เช่น

  • ภาษี หัก ณ ที่จ่าย หากสรรพามีการตรวจสอบ ยืนยันยอดกับ บริษัทคู่ค้า ทำให้ตรวจพบเจอเร็ว
  • แต่ถ้าบางครั้ง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ได้มีการตรวจสอบยืนยันยอดกับบริษัทคู่ค้าเรา ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เงินภาษีที่เราโอนให้ผู้รับยื่นภาษีนั้น ได้นำส่งถึงสรรพากรหรือไม่?
    • ใบ หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1,ภ.ง.ด.3,ภ.ง.ด.53)
    • ใบกำกับภาษี เป็นต้น
วิธีตรวจสอบภาษี scaled

วิธีตรวจสอบภาษี

วิธีการตรวจสอบการยื่นภาษี

  • กรณียื่นผ่านอินเตอร์เน็ต
    • ในการยื่นเน็ตนั้น เป็นสิ่งที่ง่ายเลย ในการตรวจสอบ หากผู้ประกอบการต้องการทราบ ก็ขอเลขจากผู้สมัคร ไว้เช็คในการตรวจสอบ ได้เลย
  • กรณียื่นมือที่เขต
    • หากยื่นด้วยมือ ใบเสร็จที่ได้จะเป็นแบบสีเหลืองหาก ที่นี้!! ก็แล้วแต่ระบบการจัดการของแต่ละที่ว่า จะทำให้ผู้ประกอบการทราบได้อย่างไร เช่น ส่งสำเนาเป็นประจำทุกเดือน ถ่ายรูปส่ง ผ่าน ระบบ Line หรือ บางที่คัดแบบ สแกนและอัพขึ้นระบบ ให้สามารถตรวจสอบได้ทางอินเตอร์เน็ตให้เหมือนกับการยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต

เบอร์หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

  • สำนักงงานขนส่งจ.ปทุมธานี อ.คลองหลวง     02 985 7543
  • สำนักงานประกันสังคมปทุมธานี                   02 567 0360
  • สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเมืองปทุม        02 581 6457
  • กรมสรรพากรสำนักงานใหญ่                        02 272 9529

10 คำค้นที่นิยมค้นหาเว็บ รับทำบัญชี ปทุมธานี

รับทำบัญชี เครื่องใช้ไฟฟ้า ปทุมธานี
รับทำบัญชี กล่องแพคเกจจิ้ง ปทุมธานี
รับทำบัญชี ประกันภัย ปทุมธานี
รับทำบัญชี อลูมิเนียม ปทุมธานี
รับทำบัญชี dvd ปทุมธานี
รับทำบัญชี เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวขนาดเล็ก ปทุมธานี
รับทำบัญชี เครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้า ปทุมธานี
รับทำบัญชี ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า ปทุมธานี
รับทำบัญชี เสื้อผ้าเด็กผู้หญิง ปทุมธานี
รับทำบัญชี อุปกรณ์ปรับปรุงบ้าน ปทุมธานี

พื้นที่บริษัท นนทบุรี : ปากเกร็ด บางตลาด บ้านใหม่ บางพูด คลองพระอุดม ท่าอิฐ อ้อมเกร็ด คลองข่อย บางพลับ คลองเกลือ บางตะไนย์
พื้นที่บริการ ปทุมธานี : คลองหลวง ธัญบุรี หนองเสือ ลาดหลุมแก้ว ลำลูกกา สามโคก

รับทําบัญชี บางบอน, รับทําบัญชี ทุ่งครุ, รับทําบัญชี ทวีวัฒนา, รับทําบัญชี บางนา, รับทําบัญชี คลองสามวา, รับทําบัญชี วังทองหลาง, รับทําบัญชี สะพานสูง, รับทําบัญชี คันนายาว, รับทําบัญชี สายไหม, รับทําบัญชี หลักสี่, รับทําบัญชี บางแค, รับทําบัญชี วัฒนา, รับทําบัญชี ลาดพร้าว, รับทําบัญชี ราชเทวี, รับทําบัญชี ดอนเมือง, รับทําบัญชี จอมทอง, รับทําบัญชี สวนหลวง, รับทําบัญชี คลองเตย, รับทําบัญชี ประเวศ, รับทําบัญชี บางคอแหลม, รับทําบัญชี จตุจักร, รับทําบัญชี บางซื่อ, รับทําบัญชี สาทร, รับทําบัญชี บึงกุ่ม, รับทําบัญชี ดินแดง, รับทําบัญชี บางพลัด, รับทําบัญชี ราษฎร์บูรณะ, รับทําบัญชี หนองแขม, รับทําบัญชี ภาษีเจริญ, รับทําบัญชี บางขุนเทียน, รับทําบัญชี บางกอกน้อย, รับทําบัญชี ตลิ่งชัน, รับทําบัญชี คลองสาน, รับทําบัญชี ห้วยขวาง, รับทําบัญชี บางกอกใหญ่, รับทําบัญชี ธนบุรี, รับทําบัญชี พญาไท, รับทําบัญชี สัมพันธวงศ์, รับทําบัญชี ยานนาวา, รับทําบัญชี ลาดกระบัง, รับทําบัญชี มีนบุรี, รับทําบัญชี พระโขนง, รับทําบัญชี ป้อมปราบศัตรูพ่าย, รับทําบัญชี ปทุมวัน, รับทําบัญชี บางกะปิ, รับทําบัญชี บางเขน, รับทําบัญชี บางรัก, รับทําบัญชี หนองจอก, รับทําบัญชี ดุสิต, รับทําบัญชี พระนคร

รับทําบัญชี ภาคกลาง

รับทําบัญชี กรุงเทพมหานคร
รับทําบัญชี นครสวรรค์
รับทําบัญชี อุทัยธานี
รับทําบัญชี อ่างทอง
รับทําบัญชี สระบุรี
รับทําบัญชี สุพรรณบุรี
รับทําบัญชี สุโขทัย
รับทําบัญชี สิงห์บุรี
รับทําบัญชี สมุทรสาคร
รับทําบัญชี สมุทรสงคราม
รับทําบัญชี สมุทรปราการ
รับทําบัญชี ลพบุรี
รับทําบัญชี เพชรบูรณ์
รับทําบัญชี พิษณุโลก
รับทําบัญชี พิจิตร
รับทําบัญชี พระนครศรีอยุธยา
รับทําบัญชี ปทุมธานี
รับทําบัญชี นนทบุรี
รับทําบัญชี นครปฐม
รับทําบัญชี นครนายก
รับทําบัญชี ชัยนาท
รับทําบัญชี กำแพงเพชร

รับทําบัญชี ภาคเหนือ

รับทําบัญชี อุตรดิตถ์
รับทําบัญชี ลำพูน
รับทําบัญชี ลำปาง
รับทําบัญชี แม่ฮ่องสอน
รับทําบัญชี แพร่
รับทําบัญชี พะเยา
รับทําบัญชี น่าน
รับทําบัญชี เชียงใหม่
รับทําบัญชี เชียงราย

รับทําบัญชี ภาคอีสาน

รับทําบัญชี อำนาจเจริญ
รับทําบัญชี อุบลราชธานี
รับทําบัญชี หนองบัวลำภู
รับทําบัญชี หนองคาย
รับทําบัญชี ศรีสะเกษ
รับทําบัญชี สุรินทร์
รับทําบัญชี สกลนคร
รับทําบัญชี เลย
รับทําบัญชี ร้อยเอ็ด
รับทําบัญชี ยโสธร
รับทําบัญชี มุกดาหาร
รับทําบัญชี มหาสารคาม
รับทําบัญชี บุรีรัมย์
รับทําบัญชี บึงกาฬ
รับทําบัญชี นครราชสีมา
รับทําบัญชี นครพนม
รับทําบัญชี ชัยภูมิ
รับทําบัญชี ขอนแก่น
รับทําบัญชี กาฬสินธุ์
รับทําบัญชี อุดรธานี

รับทําบัญชี ภาคใต้

รับทําบัญชี ยะลา
รับทําบัญชี สุราษฎร์ธานี
รับทําบัญชี สงขลา
รับทําบัญชี สตูล
รับทําบัญชี ระนอง
รับทําบัญชี ภูเก็ต
รับทําบัญชี พัทลุง
รับทําบัญชี พังงา
รับทําบัญชี ปัตตานี
รับทําบัญชี นราธิวาส
รับทําบัญชี นครศรีธรรมราช
รับทําบัญชี ตรัง
รับทําบัญชี ชุมพร
รับทําบัญชี กระบี่

รับทําบัญชี ภาคตะวันออก

รับทําบัญชี สระแก้ว
รับทําบัญชี ระยอง
รับทําบัญชี ปราจีนบุรี
รับทําบัญชี ตราด
รับทําบัญชี ชลบุรี
รับทําบัญชี ฉะเชิงเทรา
รับทําบัญชี จันทบุรี

รับทําบัญชี ภาคตะวันตก

รับทําบัญชี ราชบุรี
รับทําบัญชี เพชรบุรี
รับทําบัญชี ประจวบคีรีขันธ์
รับทําบัญชี ตาก
รับทําบัญชี กาญจนบุรี