
บริษัทยื่นแบบ ภ.พ.30 สำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2550 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 โดยมีภาษีที่ชำระไว้เกิน ต่อมา บริษัทตรวจพบว่า ยื่นแบบ ภ.พ.30 โดยแสดงภาษีขายไว้ขาดไป จึงยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติม ในวันที่ 15 มีนาคม 2550 สามารถนำภาษีที่ชำระไว้เกินดังกล่าวมาใช้ได้หรือไม่

M จะปิดกิจการในวันที่ 1 มิถุนายน 2549 โดยพนักงานจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน และเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จึงขอทราบว่า กรณีพนักงานอายุระหว่าง 58 - 59 ปี มีอายุงานเกินกว่า 20 ปี และเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้ว 15 ปี ไม่สามารถทำงานจนครบเกษียณอายุตามหลักเกณฑ์ของ M ได้ เนื่องจาก M ปิดกิจการและปิดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานดังกล่าว จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่พนักงานได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อออกจากงานเพราะเกษียณอายุ โดยมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์หรือไม่

จดทะเบียนหย่ากับภริยา ในปี 2555 จะหักลดหย่อนบุตรได้หรือไม่ และใช้หลักฐานอะไร

ตัวอย่างการคำนวณเงินเพิ่ม กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มก่อน 1 มกราคม 2551 ขาดไปเกินร้อยละ 25

ต้องการ Download ใบแนบ ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2553 กรณีบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและกิจการอื่น มีกำไรสุทธิเกิน 300,000,000 บาท เพื่อใช้สำหรับยื่นแบบฯ จะสามารถ Download ได้จากที่ใด

บริษัทเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก่อสร้างอาคารในปี 2549 เพื่อใช้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้นำภาษีซื้อค่าก่อสร้างอาคารไปใช้หักออกจากภาษีขายทั้งจำนวนแล้ว เมื่ออาคารสร้างเสร็จปี 2551 ต่อมาบริษัทได้ขายอาคารดังกล่าวในปลายปี 2551 บริษัทมีภาระภาษีที่เกี่ยวข้องอย่างไร

กรณียื่นแบบด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ (Diskette) โดยใช้โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ของราชการ และเอกชน ซึ่งในปีภาษี 2551 เงินได้สุทธิส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทได้รับยกเว้นนั้น หากเคย จะต้องติดตั้งและใช้งานในเวอร์ชั่น 2.02 มาก่อนจะต้องดำเนินการอย่างไร

บริษัทยื่นแบบ ภ.พ.30 เดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2552 ฉบับเพิ่มเติม ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 โดยได้ยื่นแบบฯ ฉบับปกติ ไว้ภายในกำหนดเวลา วันที่ 16 มีนาคม 2552 วันทำการถัดไปจากวันที่ 15 มีนาคม 2552 ซึ่งตรงกับวันหยุด อยากทราบว่า บริษัทสามารถทดวันในการคำนวณเงินเพิ่ม โดยเริ่มนับวันคำนวณเงินเพิ่มเดือนแรกเมื่อพ้นกำหนดเวลาตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2552 และเริ่มนับเดือนที่สองตั้งแต่พ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ กรณีวันสุดท้ายตรงกับวันหยุดในวันที่ 21 เมษายน 2552 ไปจนชนวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 ถูกต้องหรือไม่ หากบริษัทยื่นแบบฯ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 จะเสียเงินเพิ่มอย่างไรบ้าง

การรับรู้รายได้ ตามข้อ 3.6 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.1/2528ฯ แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.155/2549ฯ หมายความว่าจะรับรู้รายได้อย่างไร

บริษัทได้รับส่วนลดในรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2550 จากการทำเป้าซื้อสินค้าของเดือนกันยายน - ธันวาคม 2549 ต้องบันทึกเป็นรายได้ของรอบระยะเวลาบัญชีปีใด

บริษัทให้บริษัทในเครือกู้ยืมเงิน ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการให้บริษัทในเครือกู้ยืมจะได้รับสิทธิเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ในอัตราร้อยละ 0.01 ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 469) พ.ศ.2551 หรือไม่

บุคคลธรรมดายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ปีภาษี 2551 มีเงินภาษีต้องชำระและต่อมาได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.11) ให้ชำระภาษีเพิ่มเติม เนื่องจากหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิตไว้เกินไป ซึ่งเกิดจากการแนบใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตของปี 2552 ต้องดำเนินการอย่างไร

นาย ก ประกอบกิจการเป็นผู้ขายส่งบุหรี่ (ป.1) ของโรงงานยาสูบ นาย ข ประกอบกิจการเป็นผู้ขายส่งช่วงบุหรี่ (ป.2) ของโรงงานยาสูบ นาย ค ประกอบกิจการเป็นผู้ขายปลีกบุหรี่ (ป.3) ของโรงงานยาสูบ มีเงินได้พึงประเมินจากการขายบุหรี่ในปีภาษี 2555 เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.94 และ ภ.ง.ด.90) นาย ก ข ค ต้องนำเงินได้พึงประเมินจากการขายบุหรี่ครึ่งปีและทั้งปี มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปีภาษี 2555 หรือไม่

นาย ก. ทำงานมีเงินได้จากเงินเดือนจดทะเบียนสมรสกับภริยา ซึ่งเป็นคนพิการ และไม่มีเงินได้ มีบุตรพิการ อายุ 19 ปี บุตรพิการมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากประจำปีละ 16,000 บาท ภริยาและบุตรได้รับบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นาย ก.จะนำภริยาและบุตรซึ่งเป็นคนพิการดังกล่าวมาหักลดหย่อนในปีภาษี 2552 ได้อย่างไร

นาย ก. มีเงินได้จากเงินปันผลทั้งที่ได้รับเครดิตภาษี และไม่ได้รับเครดิตภาษี ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับปีภาษี 2550 นาย ก. นำเงินปันผลที่ได้รับเครดิตภาษีมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น ตามหนังสือตอบข้อหารือที่ กค 0706/4507 ลงวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 ต่อมา กรมสรรพากรมีมติคณะกรรมการพิจารณาปัญหากฎหมายและอุทธรณ์หรือคำร้อง (กพอ.) ครั้งที่ 4/2550 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2550 และหนังสือตอบข้อหารือที่ กค 0702/931 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2551 หากผู้มีเงินได้เลือกที่จะนำเงินปันผลมารวมคำนวณกับเงินได้อื่น ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินปันผลที่ได้รับในปีภาษีจากผู้จ่ายเงินปันผลทุกรายมารวมคำนวณภาษี ซึ่งรวมถึงเงินปันผลที่ไม่ได้รับเครดิตภาษีด้วย นาย ก. จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับปีภาษี 2550 เพิ่มเติม เพื่อนำเงินปันผลที่ไม่ได้รับเครดิตภาษีมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยหรือไม่

บริษัทมีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 467) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป ในขณะเดียวกัน บริษัทก็มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 460) ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2551 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 หากบริษัทเลือกใช้สิทธิตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 460) ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2551จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 แล้ว จึงใช้สิทธิตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 467) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 การใช้สิทธิดังกล่าว บริษัทมีสิทธิตามกฎหมาย ถูกต้องหรือไม่
My Portfolio

รับทำบัญชี ปทุมธานี
Posted 45 minutes ago

รับทำบัญชี นนทบุรี
Posted 45 minutes ago