บริษัท ปังปอน จำกัด

แบบรายงาน (Report Form)

แบบรายงาน (Report Form) แบบรายงานทางบัญชีเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับเจ้าของกิจการและฝ่ายบริหาร โดยเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารงาน เพราะรายงานเหล่านี้ช่วยในการวางแผน ตรวจสอบและควบคุมการจัดการได้ โดยการจัดทำรายงานทางบัญชีในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งการออกแบบรายงานจะต้องสอบถามความต้องการจากผู้ใช้รายงานร่วมด้วย เพื่อจัดทำแบบรายงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำไปใช้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด

แบบรายงาน (Report Form)
แบบรายงาน (Report Form)

รายได้จากการขายหรือการให้บริการ (Revenue from the Sale of Goods and the Rendering of Service)

รายได้จากการขายหรือการให้บริการ (Revenue from the Sale of Goods and the Rendering of Service) หมายถึง รายได้หรือรายรับที่ได้มาจากการขายและการให้บริการที่มีจากการดำเนินกิจกรรมหลักทางธุรกิจในแต่ละงวดบัญชี ซึ่งไม่รวมถึงกิจกรรมทางการเงินประเภทอื่นๆ เช่น การขายสินทรัพย์ ผลประโยชน์ทางการขอคืนภาษี หรือดอกเบี้ยจากการลงทุนต่างๆ

รายได้จากการขายหรือการให้บริการ (Revenue from the Sale of Goods and the Rendering of Service)
รายได้จากการขายหรือการให้บริการ (Revenue from the Sale of Goods and the Rendering of Service)

ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา (Reserch and Development Costs)

ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา (Reserch and Development Costs) หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ค้นคว้าและเรียนรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด (เช่นผลิตภัณฑ์ วิธีการ กระบวนการ กลุ่มคนและองค์ความรู้) เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งดังกล่าวเป็นอย่างดี ซึ่งค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาสามารถนำไปคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายกิจการเพื่อยื่นขอรับสิทธิการลดหย่อนทางภาษีได้

ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา (Reserch and Development Costs)
ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา (Reserch and Development Costs)

วิธีบันทึกแบบหายอดสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดใดงวดหนึ่ง (Perodic Inventory Method)

วิธีบันทึกแบบหายอดสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดใดงวดหนึ่ง (Perodic Inventory Method) เป็นลักษณะการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือ โดยใช้วิธีการบันทึกบัญชีสินค้าต่อเมื่อสิ้นงวดบัญชีหรือปลายปีเท่านั้น โดยในระหว่างปีจะมีการบันทึกรายการค้าที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ-ขายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปกติของกิจการ จะไม่ทำการบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการผลิตสินค้าโดยตรงไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขาย  ส่งคืนหรือรับสินค้า/วัตถุดิบ ดังนั้นการบันทึกบัญชีสินค้าด้วยวิธีนี้จะไม่สามารถทราบได้ว่าเมื่อสิ้นงวดบัญชีจะมีสินค้าคงเหลือเท่าใดหากพิจารณาดูจากสมุดบัญชีแยกประเภทเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากต้องการทราบว่ากิจการมีสินค้าคงเหลือสิ้นงวดบัญชีเป็นจำนวนเงินเท่าใดจะต้องทำการตรวจนับสินค้าคงเหลือจากโกดังและบัญชีสินค้าและต้องใช้วิธีอื่นในการคำนวณต้นทุนของสินค้า ซึ่งจะไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ในสมุดบัญชีแยกประเภท

วิธีบันทึกแบบหายอดสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดใดงวดหนึ่ง (Perodic Inventory Method)
วิธีบันทึกแบบหายอดสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดใดงวดหนึ่ง (Perodic Inventory Method)

วิธีบันทึกแบบแสดงยอดสินค้าคงเหลือต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)

วิธีบันทึกแบบแสดงยอดสินค้าคงเหลือต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method) หมายถึง การบันทึกการเคลื่อนไหวของสินค้าที่เกิดขึ้นตลอดปีการดำเนินงาน โดยบันทึกทั้งรายการขายสินค้าและการรับส่งคืน ดังนั้นยอดคงเหลือในบัญชีสินค้าคงเหลือ คือ สินค้าที่ยังเหลืออยู่และยังมิได้ขายซึ่งวิธีการบันทึกสินค้าคงเหลือแบบนี้มีข้อดีตรงที่ ทำให้สามารถทราบยอดคงเหลือของสินค้าได้ตลอดเวลา

วิธีบันทึกแบบแสดงยอดสินค้าคงเหลือต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)
วิธีบันทึกแบบแสดงยอดสินค้าคงเหลือต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)

หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stocks)

หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stocks) เป็นรูปแบบชนิดเดียวกันกับหุ้นสามัญ เพียงแต่หุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิในการออกเสียงเกี่ยวกับการบริหารของกิจการ เนื่องจากผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระเงินทุนคืนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ

หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stocks)
หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stocks)

ระบบช่วงการผลิตแบบเชื่อมขนาน (Parallel Processing)

ระบบช่วงการผลิตแบบเชื่อมขนาน (Parallel Processing) หมายถึง รูปแบบหนึ่งในกระบวนการผลิตที่สินค้าสามารถทำกระบวนการผลิตแบบเชื่อมขนานได้เพื่อลดกระบวนการและเวลาในขั้นตอนการผลิต เช่น กระบวนการผลิตรถยนต์จะทำกระบวนการตัด เชื่อมแต่ละชิ้นส่วนไปพร้อมๆกันและนำชิ้นส่วนที่ทำเสร็จมาประกอบรวมกันในขั้นตอนสุดท้าย

ระบบช่วงการผลิตแบบเชื่อมขนาน (Parallel Processing)
ระบบช่วงการผลิตแบบเชื่อมขนาน (Parallel Processing)

ความเชื่อถือได้ (Reliability)

ความเชื่อถือได้ (Reliability) เป็นแนวความคิดและหลักการทางบัญชีที่สำคัญ โดยข้อมูลทางการบัญชีที่นำเสนอต้องตั้งมั่นอยู่ในแนวความและหลักการที่เชื่อถือได้ เที่ยงธรรมและสามารถพิสูจน์ตรวจสอบได้ โดยความเชื่อถือได้มีลักษณะ 5 ประการคือ การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม ความเป็นกลาง ความระมัดระวัง ความครบถ้วนและการแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร

ความเชื่อถือได้ (Reliability)
ความเชื่อถือได้ (Reliability)

การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม (Representational Faithfulness)

การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม (Representational Faithfulness) เป็นลักษณะประการหนึ่งของแนวความคิดและหลักการทางบัญชีในหัวข้อความเชื่อถือได้ โดยการเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมหมายถึง การแสดงรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องและต้องอ้างอิงตามความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจมิใช่รูปแบบกฏหมายเพียงอย่างเดียว เช่น อาคารและอุปกรณ์ต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่ใช่รับรู้เป็นค่าใช้จ่าย เป็นต้น

การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม (Representational Faithfulness)
การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม (Representational Faithfulness)

กำไร/ขาดทุนจากการขายและหรือการให้บริการ (Profit(Loss)from the Sale of Good and the endering of Service)

กำไร/ขาดทุนจากการขายและหรือการให้บริการ (Profit(Loss)from the Sale of Good and the endering of Service) หมายถึง ผลประกอบการอันเป็นกำไรหรือขาดทุนของกิจการ ที่เกิดจากการดำเนินงานปกติของกิจการ ซึ่งไม่รวมรายได้อื่นๆและค่าใช้จ่ายอื่นๆที่นอกเหนือจากการดำเนินงานปกติของกิจการ

กำไร/ขาดทุนจากการขายและหรือการให้บริการ (Profit(Loss)from the Sale of Good and the endering of Service)
กำไร/ขาดทุนจากการขายและหรือการให้บริการ (Profit(Loss)from the Sale of Good and the endering of Service)
Scroll to Top