6 ช่องทางเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

Click to rate this post!
[Total: 12 Average: 5]

++++ 6 ช่องทางเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ++++

1. เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญและให้ประโยชน์ตอบแทนการรับราชการแก่ข้าราชเมื่อออกจากราชการ เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิก และเพื่อจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นให้แก่สมาชิก หากผู้มีเงินได้มีเงินที่จ่ายเข้ากับกองทุนดังกล่าว เมื่อรวมกับเงินซื้อหน่วยลงทุน RMF ผู้มีเงินได้สามารถนำไปยกเว้นภาษีได้ ไม่เกิน 500,000 บาท

2. เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
เป็นระบบการออมภาคบังคับสำหรับภาคเอกชน (จะได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และว่างงาน ท่านยังได้ออมเพื่อให้มีเงินใช้หลังเกษียณ) โดยหักเงินสมทบร้อยละ 5 จากเงินเดือนทุกๆ เดือน สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง

3. เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)
เป็นกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจเพื่อให้ลูกจ้างได้มีเงินออมไว้ใช้ยามเกษียณ เงินที่ลูกจ้างจ่ายเรียกว่า “เงินสะสม” ส่วนเงินที่นายจ้างจ่ายเรียกว่า “เงินสมทบ” โดยนายจ้างจะจ่ายสมทบในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายสะสมเสมอ เมื่อรวมกับเงินซื้อหน่วยลงทุน RMF ผู้มีเงินได้สามารถนำไปยกเว้นและลดหย่อนภาษีได้ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

4. เบี้ยประกันชีวิต การซื้อประกันชีวิตจัดเป็นส่วนผสมระหว่างการออมภาคสมัครใจและการคุ้มครองกรณีเสียชีวิต โดยเบื้ยประกันชีวิตที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

– ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยสามารถนำเบี้ยประกันชิวิตไปยกเว้นและหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

– ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปยกเว้นภาษีเพิ่มเติมได้อีก 15% ของเงินได้พึงประเมินแต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือค่าซือหน่วยลงทุน RMF และต้องไม่เกิน 500,000 บาท

5. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการกู้ยืมเงินเพื่อ การมีที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยเงินกู้สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีและยกว้นภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

6. เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (RMF/LTF)

> RMF < เงินซื้อหน่วยลงทุน RMF สามารถนำไปยกเว้นภาษีได้ตามที่ลงจ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท > LTF < เงินซื้อหน่วยลงทุน LTF สามารถนำไปยกเว้นภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน และต้องไม่เกิน 500,000 บาท การลงทุนใน LTF



6 ช่องทางเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
6 ช่องทางเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

Scroll to Top