นิติบุคคลได้รับเงินปันผลจากการลงทุนในบริษัทในสิงคโปร์
การที่บริษัทได้รับเงินปันผลจากบริษัท U ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของสิงคโปร์ แยกพิจารณาได้ดังนี้
1. ได้รับเงินปันผลก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 442) พ.ศ.2548 มีผลใช้บังคับ
บริษัทไม่มีภาระภาษีจากเงินปันผลในสิงคโปร์ และไม่เข้าลักษณะการยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากรแก่บุคคลตามสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2505 บริษัทมีหน้าที่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าว มาคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในไทย
2. ได้รับเงินปันผลในหรือหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 442) พ.ศ.2548 มีผลใช้บังคับ
กรณีบริษัทถือหุ้นในบริษัท U ร้อยละ 49 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับแต่วันที่ได้หุ้นนั้นมาจนถึงวันที่ได้รับเงินปันผล โดยเงินปันผลดังกล่าว มาจากกำไรสุทธิที่มีการเสียภาษีในสิงคโปร์ ในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ ดังนั้น ไม่ว่าสิงคโปร์จะมีกฎหมายลด หรือยกเว้นภาษี สำหรับกำไรสุทธิให้แก่บริษัท U หรือไม่ก็ตาม บริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 5 วีสติ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 442) พ.ศ.2548
ทั้งนี้ พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 442) พ.ศ.2548 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป
นิติบุคคลในสหรัฐอเมริกาส่งพนักงานเข้ามาป
นิติบุคคลได้รับเงินปันผลจากการลงทุนในบริ