บริษัทเอกชน จำกัดหรือบริษัทจำกัดที่ได้จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1096 ได้กำหนดให้มีหุ้นทุน 2 ประเภท ดังนี้
1. หุ้นสามัญ เป็นหลักทรัพย์ที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของอย่างเต็มที่ในบริษัท เอกชน จำกัด มีสิทธิ์ได้ส่วนแบ่งจากผลกำไรของบริษัทในรูปของเงินปันผล หลังจากที่บริษัทได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์แล้ว และในกรณีที่บริษัทล้มละลาย มีการชำระบัญชี ซึ่งกฎหมายระบุให้มีสิทธิ์เรียกคืนทุนจากทรัพย์สินของบริษัทได้ แต่ต้องหลังจากชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้ต่างๆ และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์เต็มมูลค่าแล้วเท่านั้น และมีสิทธิ์ออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่
2. หุ้นบุริมสิทธิ์ เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งเจ้าของและกึ่งเจ้าหนี้ ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้ แต่มีสิทธิ์เหนือผู้ถือหุ้นสามัญในการรับเงินปันผลที่จ่ายจากผลกำไรของ บริษัท และรับคืนทุนจากทรัพย์สินของบริษัท ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญหุ้นบุริมสิทธิ์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ชนิด ดังนี้
หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดสะสม คือ หุ้นบุริมสิทธิ์ที่มีสิทธิ์สะสมเงินปันผลไว้ในปีต่อไป ในกรณีที่ไม่มีกำไรพอที่จะปันผลในปีนั้น
หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดไม่สะสม คือ หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ไม่มีสิทธิ์ในการสะสมไปจ่ายในปีต่อไป
หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดร่วมรับ คือ หุ้นบุริมสิทธิ์ที่ได้รับการปันผลแล้ว สามารถรับเงินปันผลพร้อมหุ้นสามัญอีกได้