สำหรับในระยะเวลาของการนอนของผู้สูงอายุ ที่ความเหมาะสมนั้น ไม่มีข้อกำหนดแบบตายตัว แต่ได้มีการเฉลี่ยของระยะเวลาในการนอนของผู้สูงอายุ ได้เป็น 6 ชั่วโมงด้วยกัน ความจริงแล้วในระยะเวลาการนอนไม่สำคัญเท่ากับเรื่องสุขภาพการนอนกันเลย โดยการนอนที่มีคุณภาพนั้น คือ การนอนหลับสนิท ไม่ลุกตื่นขึ้นมากลางดึก นอนหลับเต็มอิ่ม ไม่รู้สึกอ่อนเพลียในเวลากลางวัน ซึ่งสาเหตุของผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับ แบ่งออกเป็น3 ปัจจัยหลัก ๆ ด้วยกัน
1.ปัจจัยทางด้านร่างกาย ที่อาจจะมีอาการเจ็บป่วยเป็นประจำ อย่างเช่น ปวดขา ทำให้นอนหลับไม่สนิท หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ก็เป็นได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคประสาทเสื่อม ที่มีอาการปลายมือปลายเท้าร้อน ในช่วงเวลากลางคืน ทำให้นอนไม่หลับหรือนอนไม่สบายตัวนั่นเอง รวมไปถึงตัวยาบางตัว ก็จะมีการส่งผลต่อการนอนได้เช่นกน ทำให้ผู้สูงวัยที่ได้มีโรคประจำตัวนั้นต้องรับประทานยาเป็นประจำนั่นเอง
2.ปัจจัยทางด้านภาวะจิตใจ ในส่วนนี้ก็มักจะเกิดจากความเครียด และโดยปกติแล้ว ผู้สูงอายุจะมีความเครียดง่าย ๆ เมื่อเครียดแล้วภาพจิตใจจะไม่เป็นปกติ มีการกังวลใจ รวมไปถึงการสูญเสียคนรักอีกด้วย พบมากในผู้สูงอายุวัยที่อยู่กันจนแก่จนเฒ่านั่นเอง เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตายจากกันไป ก็จะทำให้อีกฝ่ายมีสภาวะจิตใจ ที่ไม่ปกติ ทำให้ส่งผลของการนอนไม่หลับได้
3.ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น บ้านอยู่ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีเสียงดัง หรือส่งกลิ่นเหม็น ก็อาจจะทำให้นอนไม่หลับได้ รวมไปถึงผู้ที่นอนร่วมด้วยกัน มีส่วนหากมีอาการนอนกรน ก็จะทำให้อีกฝ่ายนอนไม่หลับได้ ซึ่งเป็นเสียงรบกวนนั่นเอง นอกจากนี้แล้ ระยะเวลาในการนอนจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกันได้ ช่วงเวลาการนอนก็เช่นกัน สำหรับผู้สูงอายุจะมีพฤติกรรมนอนไม่เกินหกโมงเย็น และตื่นตีสอง ถ้าหากผู้สูงอายุกลุ่มนี้ตื่นมาแล้วรู้สึกว่าอ่อนเพลียในระหว่าวัน ก็จะสารถประกอบกิจกรรมประจำวันได้อย่างปกติกันเลย หรือหากมีคุณภาพในการนอนที่ดีนั่นเอง ฉะนั้นยังคงยึดเกณฑ์แบบเดิม ๆ ว่าการนอนให้เหมาะสมคือการนอนที่มีคุณภาพ หลับสบายและเต็มอิ่มอีกด้วย