สอบถามเรื่อง ขายสินค้า โดย การเก็บเงิน มัดจำ wanwan036
ตอบ: [center][b] wanwan016 +++++++++ wanwan016[/b][/center]
เงินมัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นเงินที่ใช้เป็นประกันสัญญา และ ใช้เป็นพยานหลักฐานว่าสัญญาได้ทำขึ้นแล้ว และเงินมัดจำอาจจะคืน หรือใช้เป็นการชำระราคาบางส่วนเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วน หรืออาจถูกริบเมื่อมีการปฏิบัติผิดสัญญา และ ถ้าพิจารณาตามประมวลรัษฎากร ซึ่งได้บัญญัติเรื่องการกำหนดเงินได้เพื่อการเสียภาษีแตกต่างกันในแต่ละประเภทภาษี ปัญหาที่เกิดขึ้น จึงมีว่าเงินมัดจำถือเป็นเงินได้พึงประเมินหรือเป็นมูลค่าของฐานภาษีหรือไม่ และถ้าถือว่าเป็นเงินได้ พึงประเมินหรือถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีได้แล้ว จะถือเป็นเงินได้ พึงประเมินหรือเป็นมูลค่าของ ฐานภาษีเมื่อใด มีภาระภาษีอย่างไร และนอกจากนี้ เงินมัดจำมีลักษณะ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรทั้งตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กับประมวล-รัษฎากร ทั้งในส่วนของเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ได้แก่ เงินประกัน เงินจอง เงินดาวน์ เงินจ่ายล่วงหน้า โดยบทความฉบับนี้ แบ่งเป็น 4 หัวข้อหลักๆ ดังนี้
1. สาระสำคัญตามกฎหมายแพ่ง
2. สาระสำคัญตามประมวลรัษฎากร
3. ปัญหาการกำหนดเงินมัดจำเป็นเงินได้
4. ประเด็นปัญหาทางวิชาการที่น่าสนใจ
[b]1.กฎหมายแพ่ง[/b]
[i]• สาระสำคัญเกี่ยวกับมัดจำ[/i]
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 วางหลักว่า เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกัน ขึ้นแล้ว อนึ่ง มัดจำนี้ย่อมเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 วางหลักว่า มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้เป็นไปดังจะกล่าว ต่อไปนี้ คือ
(1) ให้ส่งคืน หรือจัดเอาเป็นการใช้เงิน บางส่วนในเมื่อชำระหนี้
(2) ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับ ผิดชอบหรือถ้ามีการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น
(3) ให้ส่งคืน ถ้าฝ่ายที่รับมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งฝ่ายนี้ต้องรับผิดชอบ
[i]คำอธิบาย1[/i]
1. ความหมายของมัดจำ2
มัดจำหมายถึงอะไรนั้น มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง การที่จะเข้าใจว่ามัดจำหมายถึงอะไรนั้น จึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 ซึ่งเป็นมาตราแรกของมัดจำ โดยมาตรา 377 บัญญัติว่า “เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่า การที่ให้มัดจำนั้น ย่อมเป็นพยานหลักฐานว่า สัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว อนึ่งมัดจำนี้ย่อมเป็นประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย” จากบทบัญญัติมาตราดังกล่าว กฎหมายกล่าวว่า มัดจำ หมายถึง “สิ่งใด” ที่คู่สัญญาให้เมื่อเข้า ทำสัญญา ซึ่งเป็นการบัญญัติแตกต่างจากมาตราอื่นๆ ที่มักจะบัญญัติว่าวัตถุของสัญญาเป็น “ทรัพย์สิน” แต่มัดจำมิใช่ทรัพย์สิน อย่างไรก็ตาม การที่จะเข้าว่า “สิ่งใด” ในที่นี้หมายถึงอะไร ก็จำต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่า เมื่อผู้วางมัดจำผิด บทบัญญัติในมาตรา 378 ที่จะศึกษาต่อไปกำหนดให้ผู้รับมัดจำมีสิทธิ “ริบ” มัดจำได้ จึงทำให้เข้าใจได้ว่า “สิ่งใด” ตามมาตรา 377 นี้ต้องเป็นสิ่งที่ผู้รับมัดจำสามารถริบไปได้ทันที และการริบย่อมก่อประโยชน์ในทางทรัพย์สินแก่ผู้รับมัดจำได้
กล่าวโดยสรุป มัดจำ3 หมายถึง สิ่งใดที่ คู่สัญญาให้ไว้ในขณะเข้าทำสัญญาเพื่อเป็นพยานหลักฐานในการทำสัญญา เพื่อเป็นการประกันการปฏิบัติตามสัญญานั้น
2. วัตถุประสงค์ในการวางมัดจำ 4 การตกลงกำหนดมัดจำไว้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ
2.1 เพื่อเป็นหลักฐานในการทำสัญญา หมายความว่า การส่งมอบมัดจำให้แก่กันไว้นั้นย่อมเป็นหลักฐานเบื้องต้นประการหนึ่งว่าได้มีสัญญาแล้ว
2.2 เพื่อเป็นการประกันการปฏิบัติตามสัญญา เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา เพราะการที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ส่งมอบเงิน หรือทรัพย์สินอย่างอื่นให้ไว้เป็นมัดจำแล้ว ย่อมไม่ประสงค์ที่จะสูญเสียเงินหรือทรัพย์สินนั้นไปเปล่าๆ โดยปกติคู่สัญญาฝ่ายที่ให้มัดจำต้องพยายามที่จะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อที่จะได้ไม่เสียมัดจำไป
ข้อสังเกต ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการตกลงกำหนดมัดจำไว้ตามวัตถุประสงค์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนี้มีวัตถุ-ประสงค์ในการวางมัดจำเพื่อเป็นค่าเสียหาย ซึ่งได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 7
3. ลักษณะของมัดจำ
3.1 ต้องเป็นสิ่งที่ได้มีการส่งมอบให้กันไว้ในวันทำสัญญา หากเป็นทรัพย์สินที่สัญญาว่าจะให้ในวันข้างหน้าหรือในวันอื่น ไม่ใช่มัดจำ5
[b]ตัวอย่างที่ 1[/b] มัดจำต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ให้ในวันทำสัญญาไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ ในวันอื่น สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทำขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2532 ระบุว่าในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินสดจำนวน 200,000 บาทและ ในวันที่ 20 มีนาคม 2532 อีกจำนวน 3,300,000 บาท เงินสดจำนวน 200,000 บาทเท่านั้น ที่เป็นเงินมัดจำที่จะต้องริบเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาส่วนเงินจำนวน 3,300,000 บาทนั้นไม่ใช่มัดจำแต่เป็นเพียงการชำระราคาค่าที่ดินบางส่วน ล่วงหน้าซึ่งชำระภายหลังวันทำสัญญาเท่านั้นจึงริบไม่ได้
[i](ติดตามเนื้อหาเต็มได้ในวารสารสรรพากรสาส์นประจำเดือนกันยายน 2555)[/i]
[center][b] wanwan035++++++++++ wanwan035[/b][/center]