Back

วิธีเลิกจ้าง โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ไล่ออก

Click to rate this post!
[Total: 26 Average: 5]

ข้อยกเว้น ที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณี การเลิกจ้าง มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้

 

(1) ทุจริต ต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

 

(2) จงใจ ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

 

(3) ประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

 

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วย กฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

 

(5) ละทิ้งหน้าที่ เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

 

(6) ได้รับโทษจำคุก ตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

 

อธิบาย โดยหลักแล้วหากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 118 แต่หากการเลิกจ้างนั้น เป็นเพราะความผิดของลูกจ้างตามมาตรา 119 (1) – (6) นายจ้างมีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย ให้แก่ลูกจ้างได้ ทั้งนี้ ต้องระวัง ว่าการ ที่นายจ้างจะยกเหตุที่ลูกจ้างกระทำผิดตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยได้นั้นนายจ้างต้องระบุเหตุเลิกจ้างไว้ใน หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง ตามมาตารา 17 หากนายจ้างไม่ได้ระบุไว้ ต่อมาจะยกข้ออ้างตามมาตรา 119 ขึ้นต่อสู้ลูกจ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้

Administrator
Administrator
https://yeepou.com