ยกเว้นเนื่องจากมีลักษณะเป็นรายจ่ายหรือค่าทดแทนหรือสวัสดิการ

Click to rate this post!
[Total: 7 Average: 5]

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีหลักการจัดเก็บจากเงินได้ทุกประเภทซึ่งแบ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) ถึง มาตรา 40(8) ครอบคลุมเงินได้ทั้งที่ได้มาโดยน้ำพักน้ำแรง (Earned Income) และที่ได้มาโดยไม่ต้องใช้ น้ำพักน้ำแรง (Unearned Income) รวมตลอดถึงเงินได้ที่เกิดจากการลงทุนในทรัพย์สิน (Capital Gain) เว้นแต่จะมีบทบัญญัติยกเว้นหรือมีข้อจำกัดขอบเขตในการเสียภาษีไว้โดยเฉพาะ2 สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษี (Exempt Income) นั้น ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา 42 และมาตรา 42(17) ยังได้บัญญัติให้เงินได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงได้รับยกเว้นภาษีด้วย ได้แก่ กฎกระทรวง
ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร นอกจากนี้ อาจได้รับยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 3 ของประมวล- รัษฎากร หรือได้รับยกเว้นโดยพระราชบัญญัติก็ได้ เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าว อาจจัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้หลายกรณี อาทิ ยกเว้นเนื่องจากมีลักษณะเป็นรายจ่ายหรือค่าทดแทนหรือสวัสดิการ (ประมวลรัษฎากร มาตรา 42(1)) หรือยกเว้นเพื่อส่งเสริมการศึกษา (ประมวลรัษฎากร มาตรา 42(7)) หรือยกเว้นเนื่องจากเป็นมรดก (ประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9)(10)) เป็นต้น
ที่มา สรรพากรสาส์น
Related Posts via Categoriesการขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี พื้นที่น้ำท่วม (1)ค่ารับรองหรือค่าบริการ (1)ค่าดอกเบี้ยจ่าย (1)มูลค่าของทรัพย์สินและหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ (1)การลงรายการในรายงานภาษีซื้อ (1)


ตอบ: wanwan035 wanwan037

ยกเว้นเนื่องจากมีลักษณะเป็นรายจ่ายหรือค่าทดแทนหรือสวัสดิการ
ยกเว้นเนื่องจากมีลักษณะเป็นรายจ่ายหรือค่าทดแทนหรือสวัสดิการ

Scroll to Top