Back

ภาษีซื้อต้องห้าม

Click to rate this post!
[Total: 21 Average: 5]

ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์
ผู้เขียนเชื่อว่ากิจการเกือบทุกกิจการต้องมีการซื้อหรือเช่ารถยนต์มาใช้ในการประกอบกิจการอย่างแน่นอน ซึ่งก็แล้วแต่สภาพของกิจการว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้รถยนต์ประเภทใด บางกิจการก็อาจมีนโยบายซื้อรถยนต์ให้แก่ผู้บริหารใช้ ซึ่งกรณีนี้ผู้เขียนก็เคยเห็นอยู่มากทีเดียว
เมื่อผู้ประกอบการซื้อรถยนต์มาใช้ในการประกอบกิจการก็จะถูกผู้ขายเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีซื้อ) ตามกฎหมายไม่ว่ารถยนต์นั้นจะเป็นรถกระบะราคาไม่แพงมากหรือรถเก๋งราคาแพงหลายล้านบาท และนอกจากนั้น ต่อมามีการจ่ายค่าอะไหล่ ค่าอุปกรณ์ ค่าซ่อมรถยนต์นั้นๆ ผู้ประกอบการก็จะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีซื้อ) เช่นกัน ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกผู้ประกอบการอื่นเรียกเก็บนั้นคือภาษีซื้อของผู้ประกอบการนั่นเอง และเรื่องภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42ฯ ได้กำหนดไว้ว่า ภาษีซื้อดังต่อไปนี้ ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
(1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ข้อ 2(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 ฯ )
(2) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวกับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ข้อ 2(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 ฯ )
แม้ว่าภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ทั้ง 2 กรณีข้างต้น (ข้อ 2(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 ฯ ) จะไม่อนุญาตให้นำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ แต่เป็นภาษีซื้อต้องห้ามอีกรายการหนึ่งที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ เช่นเดียวกับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากรายจ่ายค่ารับรอง แต่เมื่อพิจารณาจาก(ข้อ 2(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 ฯ )แล้ว หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วรถประเภทไหนล่ะคือ “รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน” ที่ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องเป็นภาษีซื้อต้องห้ามแต่นำไปหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้


ตอบ: ค่ารับรองสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม หากเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 143 ดังต่อไปนี้

– ค่ารับรองตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และบุคคลที่ได้รับการรับรองไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด(หจก.) เว้นแต่ลูกจ้างมีหน้าที่เข้าร่วมการรับรองนั้น
-เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับค่ารับรอง เช่น อาหารเครื่องดื่ม ที่พัก ฯลฯ ถ้าให้เป็นสิ่งของ ต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราวที่มีการรับรอง
-เป็นการจ่ายเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการ
-ให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่จ่าย แต่รวมกันไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินรายได้ หรือเงินทุนที่ได้ชำระแล้ว ซึ่งแล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
-ค่ารับรองนั้นต้องมีกรรมการ หรือผู้ที่เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติสั่งจ่ายค่ารับรอง และมีหลักฐานการจ่ายประกอบ
อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการวางแผนค่ารับรอง มีดังต่อไปนี้
-ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
-ต้องระบุได้ว่ามีการพาบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยประโยชน์ต่อกิจการไปรับรองด้วย ยกตัวอย่างเช่น ระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อไว้ในใบเบิกเงิน หรือใบสำคัญจ่ายด้วย
-ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับกิจการ หรือเอื้อประโยชน์ต่อกิจการอย่างไร

Administrator
Administrator
https://yeepou.com