เนื่องจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ เป็นเงินได้จากหน้าที่การงานที่ทำในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่ง ประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากการจ้างลูกจ้างเข้าลักษณะเป็นการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 575 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ เงินได้ที่ลูกจ้างได้รับ เข้าลักษณะเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้อง หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร
โดยการคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ให้คูณเงินได้ พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษี ตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร ได้เงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด
ให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หัก ภาษีไว้จำนวนเท่านั้น ทั้งนี้ หากในปีภาษีดังกล่าว ลูกจ้างมีเงินได้พึงประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร ลูกจ้างดังกล่าวมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ
มีประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจเปลี่ยนมาใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งค่าจ้างถูกกว่า อึดกว่า ขยันกว่า คนไทยมากมายนัก
1. ขอแบบคำร้องขอจ้างคนต่างด้าวที่ สนง.แรงงานในเขตท้องที่ให้แรงงานทำงาน เรียกเอกสารจากสำนักจัดหางาน ของผมไปที่แรงงาน จ.นนทบุรี
2. เอกสาร สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง กรณีนายจ้างไม่ได้เป็นเจ้าของที่ (เช่าเค้า) ต้องใช้สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของที่ ถ้าเจ้าตัวไม่มาต้องมีหนังสือมอบอำนาจด้วย
3. สำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล
4. รูปถ่ายแรงงานต่างด้าว
5. แรงงานต่างด้าว เพื่อลงลายชื่อชื่อ กรณีเขียนหนังสือไม่ได้ ใช้ปั้มลายนิ้วมือแทน