ผลจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ด้านคุณสมบัติในสาขาอาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย นักวิชาชีพ แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษได้อย่างเสรีข้อตกลงเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน ฝีมือไปทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้อย่างเสรี ได้กำหนดครอบคลุม 7 อาชีพ และก็มีข่าวว่าอาจจะมีการเพิ่มจำนวนอาชีพขึ้นมาอีกในลำดับถัดไป สำหรับ 7 อาชีพที่มีข้อตกลงกันแล้วให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรี ได้แก่
ท อาชีพวิศวกร( Engineering Services)
ท อาชีพพยาบาล (Nursing Services)
ท อาชีพสถาปนิก(Architectural Services)
ท อาชีพการสำรวจ (Surveying Qualifications)
ท อาชีพนักบัญชี (Accountancy Services)
ท อาชีพทันตแพทย์ (Dental Practitioners)
ท อาชีพแพทย์ (Medical Practitioners)
และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่ม 7 อาชีพนั้น มีผลดีต่อไทยไม่น้อย เพราะในภาพรวม สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยมีศักยภาพในด้านการผลิตบุคลากรในสาย วิชาชีพทั้ง 7 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งทำให้ผู้จบการศึกษาในสายวิชาชีพทั้ง 7 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมีตลาดงานที่เปิดกว้างมากขึ้น
จาก เดิมที่ตลาดมีแค่การให้บริการประชาชน 63 ล้านคน เป็นตลาดของประชาชนร่วม 600 ล้านคนใน 10 ประเทศอาเซียน นอกจากนั้น ประเทศเหล่านี้รวมทั้งไทยอยู่ในทิศทางที่กำลังเติบโตทางด้านเศรษฐกิจทั้ง สิ้น เร็วบ้าง ช้าบ้าง และโดยภาพรวมคุณภาพของผู้จบวิชาชีพทั้ง 7 ในไทยก็สูงอยู่ในระดับแถวหน้าของประเทศอาเซียน ทำให้โอกาสในการหางานมีสูง
ใน ขณะที่คนไทยสามารถไปทำงานในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรีนั้น สภาวิชาชีพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลมาตรฐานของอาชีพทั้ง 7 นั้นคงต้องมีการดำเนินการอย่างเข้มแข็งรัดกุมเป็นอย่างมาก เพื่อรักษามาตรฐานของผู้จบวิชาชีพในสาขาอาชีพนั้นๆ ในไทยให้คงเดิม หรือยกระดับให้สูงขึ้นไปอีก ป้องกันมิให้เกิดการอ่อนด้อยในเรื่องมาตรฐานขององค์กรในการผลิตคน บางแห่งที่อาจใช้โอกาสนี้เพิ่มรายได้ในการเร่งผลิตคนในวิชาชีพเหล่านั้น จำนวนมากเพื่อตอบสนองตลาดที่ใหญ่ขึ้น มิฉะนั้นอาจส่งผลกระทบทางลบโดยรวม
อีก ปัญหาที่อาจะตามมาอีกอย่างคือ บางวิชาชีพไทยเริ่มจะเข้าสู่วิกฤตการขาดแคลนอาจารย์ เช่น ทันตแพทย์ ถ้าแก้ปัญหาไม่ทันท่วงทีในเวลาอีกสามถึงห้าปีข้างหน้า ไทยจะมีปัญหาเรื่องการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ในสายวิชาชีพทันตแพทย์อย่างแน่ นอน ขณะเดียวกัน ก็ต้องระวังดูแลในเรื่องมาตรฐานของคนจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่เข้ามาประกอบอาชีพทั้ง 7 อาชีพในไทยด้วยเช่นกัน เพราะอาจจะมีผู้มาจากประเทศอื่นที่มาประกอบอาชีพในไทยมีปัญหาความอ่อนด้อยใน เรื่องมาตรฐาน ซึ่งถ้าดูแลไม่รอบคอบรัดกุม อาจก่อเกิดผลกระทบกับสังคมไทยในทางลบ และอาจส่งผลต่อปัญหาการประกอบอาชีพของคนไทยเอง
แต่อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม สังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ จำนวนคนในวัยทำงานกำลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีข้อมูลว่าอีกประมาณสิบปีข้างหน้า สัดส่วนคนในวัยทำงานจะต่ำกว่าประชากรผู้สูงอายุมาก นี่จะทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานฝีมือในกลุ่มอาชีพทั้ง 7 นั้น ผู้ที่จบจากสายวิชาชีพดังกล่าวจะประกันได้ว่าไม่น่าจะมีใครที่ตกงาน เพราะมีตลาดใหญ่มากรองรับทั้งในไทย และในประเทศอาเซียน
ข้อตกลง เคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 7 อาชีพในปี 2015 (2558) แม้จะเป็นโอกาสทองของคนไทยในสายวิชาชีพดังกล่าว แต่ก็มีจุดที่ต้องระวังอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ทั้งในด้านการที่คนของเราไปทำงานบ้านเขา และการที่คนบ้านเขามาทำงานในบ้านเรา เพราะถ้าการระวังไม่รัดกุม โอกาสทองนั้นอาจพลิกเป็นวิกฤต และมีผลกระทบรุนแรงต่อบางสายวิชาชีพได้
ตอบ: สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยระยะแรกนั้นมีสมาชิกเริ่มแรกแค่ 6 ประเทศ คือ บรูไน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และไทย ภายหลังมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 4 ประเทศ ได้แก่กัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมาร์ และ เวียดนาม หรือที่เรียกว่า CLMV
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาค นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และมีการรวมกลุ่มกันเพื่อขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยการจัดทำเขตเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) ในปี 2535
นับตั้งแต่การ ก่อตั้งอาเซียนเป็นต้นมา ประเทศสมาชิกต่างพยายามส่งเสริมการยึดมั่นในบรรทัดฐานร่วมกัน โดยอาเซียนให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกัน อย่างต่อเนื่อง ซึ่งภายหลังจากการดำเนินการไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟต้า (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ได้บรรลุผลสำเร็จแล้วนั้น ในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ณ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การ เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) อันมีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) โดยที่เดิมทีเดียวนั้นกำหนดการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เกิดขึ้น ภายในปี 2563 หรือ ค.ศ.2020
แต่ต่อมาเมื่อมีการประชุมสุดยอดผู้นำอา เซียนครั้งที่ 12 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามใน “ปฏิญญาเซบู” ว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี เป็นภายในปี 2558 หรือ ค.ศ.2015 โดยเป้าหมายหลักของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์สำคัญ 4 ประการ
ได้แก่ 1.การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันโดยการเปิดเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุน ด้วยการลดหรือยกเลิกข้อจำกัดอันเป็นอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุนในภาคบริการ ระหว่างกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันโดยส่ง เสริมให้ประเทศสมาชิกมีกฎหมายด้านการแข่งขัน เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกันและสร้างวัฒนธรรมการแข่งขันของภาค ธุรกิจที่เป็นธรรมและการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกันโดยเน้นด้านการพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs และการลดช่องว่างของการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกและ
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
ดัง นั้น เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศรวมกันเป็นกลุ่มประชาคมอาเซียน จึงต้องมีพันธสัญญาที่ต้องดำเนินการ ประกอบไปด้วยเสาหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านวัฒนธรรม และ ด้านเศรษฐกิจ
ในส่วนของ “เสาหลักด้านเศรษฐกิจ” นั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” อย่างสมบูรณ์แบบ โดยมีการกำหนด “พิมพ์เขียว” หรือ AEC Blueprint ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาซียนใช้เป็นพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติร่วมกันตามกรอบ เวลาที่กำหนด มีสาระสำคัญประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ
1) พันธกรณีที่ผูกพันให้ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้อง “เปิดตลาด” สินค้าระหว่างกันมากขึ้น ตามความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA) ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศ เร่งทยอยลดอัตราภาษีสินค้าลงมาตั้งแต่ปี 2535 จนเหลือ 0% ไปแล้วประมาณ 8,000 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นมา
ส่วนประเทศ สมาชิกใหม่ของอาเซียน 4 ประเทศ หรือ CLMV ได้แก่ กัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมาร์, และเวียดนาม มีกำหนดให้ทยอยลดภาษีสินค้าต่าง ๆ ลงให้เป็น 0% ภายในปี 2558 พร้อมกันนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดยังมีข้อผูกพันที่จะต้องลดมาตรการกีด กันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ให้หมดไปอีกด้วย
2) พันธกรณีการเปิดเสรีการค้าบริการ มีเป้าหมายให้ประเทศสมาชิกอาเซียนลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด ด้วยการเปิดกว้างให้นักลงทุนอาเซียนสามารถเข้ามาลงทุนและถือหุ้นได้ในประเทศ สมาชิกอาเซียนในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในสาขาบริการสำคัญ (Priority Integration Sector) ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ, สาขาสุขภาพ และสาขาการท่องเที่ยว ภายในปี 2553 การเปิดเสรีสาขาโลจิสติกส์ภายในปี 2556 และการเปิดเสรีสาขาบริการอื่น ๆ ที่เหลือทุกสาขาภายในปี 2558
3) พันธกรณีการเปิดเสรีการลงทุน ต้องการให้ประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) ตลอดจนสามารถเคลื่อนย้ายเงินทุนและแรงงานได้อย่างเสรี รวมไป
ถึงการพัฒนาความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาร่วมกันมากยิ่งขึ้น
พันธกรณี เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งด้านบวกและด้านลบ กล่าวคือ มีสินค้า/บริการหลายรายการที่ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ แต่ก็มีสินค้า/บริการ อีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถแข่งขันได้
ประเทศไทยจำเป็นต้องรีบปรับตัวก่อนที่อาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จะรวมตัวกันเป็นตลาดเดียวในที่สุด (หน้าพิเศษ AEC เปลี่ยนประเทศไทย)