การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของกระแสเงินสดในกิจกรรมการดำเนินงาน การลงทุนและการจัดหาเงิน ช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติมในมุมมองที่แตกต่างจากงบดุลและงบกำไรขาดทุน วิธีการวิเคราะห์งบกระแสเงินสดที่นิยม ได้แก่
– การวิเคราะห์แบบองค์รวม
– การใช้อัตราส่วนทางการเงิน ความหมายของกระแสเงินสดในแต่ละกิจกรรม กระแสเงินสดบวกและกิจกรรมดำเนินงาน
-บ่งชี้ถึงจำนวนกระแสเงินสดที่กิจการสร้างได้จากการทำการค้าปกติ กระแสเงินสดบวกและกิจกรรมลงทุน
-บ่งชี้ว่ากิจการมีการไถ่ถอนหรือขายสินทรัพย์ระยะยาวที่ลงทุนไว้ กระแสเงินสดบวกและกิจกรรมจัดหาเงิน
-บ่งชี้ว่ากิจการมีการระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากบุคคลภายนอก อาจมาจากการก่อหนี้หรือจากการเพิ่มทุน กระแสเงินสดลบและกิจกรรมดำเนินงาน –
บ่งชี้ว่าการทำการค้าปกติของกิจการไม่อาจสร้างกระแสเงินสดได้ และยังเกิดเงินทุนไปจมอยู่ในเงินทุนหมุนเวียนอีกส่วนหนึ่งด้วย กระแสเงินสดลบและกิจกรรมลงทุน
-บ่งชี้ถึงจำนวนกระแสเงินสดที่กิจการจ่ายลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว ทั้งสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์ไม่มีตัวตน และเงินลงทุนต่าง ๆ กระแสเงินสดลบและกิจกรรมจัดหาเงิน
-บ่งชี้ว่ากิจการมีการจ่ายเงินสดให้แก่นักลงทุน ซึ่งอาจมาจากการชำระคืนหนี้ การจ่ายเงินปันผล หรือซื้อหุ้นทุนคืน ประเด็นการวิเคราะห์รายการในงบกระแสเงินสด
-1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวกหรือลบ เป็นกระแสเงินสดที่เกิดจากผลประกอบการสุทธิเท่าไร? จากรายการรายได้และค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นเงินสดเท่าไร? และจากเงินทุนหมุนเวียนดำเนินงานเท่าไร?
-2. เมื่อเทียบผลประกอบการทางบัญชีและผลประกอบการที่เป็นเงินสด รายการใดมีจำนวนสูงกว่า
-3. ยอดผลประกอบการที่เป็นเงินสดสูงหรือต่ำกว่ากระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
-4. การเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของผลประกอบการหรือไม่? และกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานมีจำนวนเท่าไรเมื่อเทียบกับผลประกอบการสุทธิ
-5. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนเป็นบวกหรือลบ ถ้าบวกมาจากรายการใด? และจำนวนเท่าไร?
-6. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนแสดงถึงการจ่ายลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์หลักของกิจการหรือไม่?
-7.กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานมีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่ากระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
-8. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินเป็นบวกหรือลบ และเกิดจากรายการใดบ้าง?
-9. กระแสเงินสดที่จัดหาจากแหล่งภายนอกมาจากการก่อหนี้เท่าไร? และจากหุ้นทุนเท่าไร?
-10.ประเภทของเงินทุนที่จัดหามาสอดคล้องกับประเภทของเงินลงทุนหรือไม่?
-11.กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานมีจำนวนมากเพียงพอรองรับรายจ่ายทางการเงินหรือไม่? (ดอกเบี้ยจ่าย เงินปันผลจ่าย ภาระสัญญาเช่าทางการเงิน และการชำระคืนภาระหนี้สินระยะยาว)
-12.กระแสเงินสดสุทธิกระทบต่อฐานะสภาพคล่องของกิจการอย่างไร?
-13.จำนวนเงินปันผลจ่ายมีสัดส่วนเท่าไรเมื่อเทียบกับกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
ที่มา:ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย