โดยปกติ กิจการจะกำหนดวิธีกาตรวจนับสินค้าคงเหลืออย่างน้อยทีละครั้งเพื่อนใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำงบการเงินและเพื่อนให้แน่ใจในความเชื่อถือของระบบควบคุมสินค้าคงเหลือของกิจการ การตรวจนับสินค้าคงเหลือจึงขึ้นอยู่กับกิจการที่จะมีการวางแผนการตรวจนับสินค้าอย่างไรซึ่งผู้ทำบัญชีจะรับบทบาทหน้าที่ในการวางแผนการตรวจนับสินค้าคงเหลือว่า จะนับปีละครั้ง หรือจะนับกี่ครั้งต่อปี หรือจะตรวจนับแบบหมุนเวียน และจะต้องทำหน้าที่ประสานงานแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ ได้แก่ คลังสินค้า ผู้สอบบัญชี เรื่องที่จะต้องวางแผนในการตรวจนับสินค้าจะครอบคลุมในเรื่อง
– การออกแบบและวิธีการปฏิบัติวิธีการตรวจนับ
– การควบคุมภายในสินค้าคงเหลือขณะตรวจนับ
– กำหนดวันเวลาของการตรวจนับสินค้าคงเหลือ
– สถานที่จัดเก็บสินค้าคงเหลือที่จะทำการตรวจนับ มีสถานที่กี่แห่ง อยู่ที่เดียวกันหรือห่างไกล
– ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจนับหรือไม่
– บุคลากรที่จะทำหน้าที่ตรวจนับจากหน่วยงานใดบ้าง และจำนวนบุคลากรที่ร่วมในการตรวจนับ
การวางแผนการตรวจนับสินค้าจะช่วยให้การตรวจนับทำได้อย่างมีปะสิทธิภาพและที่สำคัญผู้จัดทำบัญชีควรได้ทราบว่าในการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีจะมีการประเมินแผนการตรวจนับและวิธีการตรวจนับของกิจการที่ใช้ในการบันทึกและการตวบคุมผลการตรวจนับสินค้าคงเหลือของกิจการ เมื่อวางแผนกำหนดการตรวจนับแล้วต้องแจ้งำหนดการตรวจนับให้ผู้สอบบัญชีทราบเพื่อนส่งผู้ช่วยหรือผู้สอบบัญชีเข้าร่วมสังเกตุการณ์ตรวจนับ การแจ้งควรจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง
แหล่งอ้างอิง : เอกสารภาษีอากร (ธรรมนิติ)