การวางแผนภาษีส่วนบุคคล เป็นการวางแผนภาษีของบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะมีอาชีพกินเงินเดือน เจ้าของกิจการหรือมีอาชีพอิสระ โดยบุคคลที่มีรายได้ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นการรู้จักวางแผนที่เหมาะสมจะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับเราได้
รายได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี
รายได้ที่ต้องเสียภาษีของบุคคลธรรมดา ตามกฎหมายเรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ ซึ่งได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
ตอบ: การวางแผนภาษีบุคคลธรรมดา ที่นิยมทำกันในปัจจุบัน คือเพิ่มค่าใช้จ่าย ทำได้โดย
1. เลือกอาชีพที่หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด
เนื่องจาก กรมสรรพากรแบ่งรายได้ของบุคคลธรรมดาออกเป็น 8 ประเภท แต่ละประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกัน ดังนั้นการรู้จักจัดสรรให้เงินได้ของเราไปอยู่ในกลุ่มอาชีพที่หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ย่อมช่วยประหยัดภาษีได้มาก ( ดูรายละเอียดแต่ละอาชีพ )
2. แยกรายได้ให้มาจากหลากหลายอาชีพ เพื่อเพิ่มสิทธิหักค่าใช้จ่าย
เนื่องจาก การเป็นลูกจ้างกินเงินเดือนจะหักค่าใช้จ่ายสูงสุดได้ 40% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน
60,000 บาท แต่ถ้าเราสามารถทำให้รายได้มาจากหลายลักษณะอาชีพ เช่น ค่าที่ปรึกษาในฐานะ
ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ค่าลิขสิทธิ์ หรือค่ารับเหมา จะช่วยทำให้หักค่าใช้จ่ายจากแต่ละหมวดได้มากขึ้น
3. เครดิตภาษีเงินปันผล
โดยต้องดูว่า อัตราภาษีของบริษัทที่จ่ายปันผลให้เรานั้นสูงกว่าหรือต่ำกว่าฐานภาษีของเรา
เพราะถ้าบริษัทนั้นได้รับสิทธิยกเว้นภาษี หรือใช้อัตราภาษีที่ต่ำอยู่แล้ว อาจทำให้เราต้องเสียภาษีเพิ่มได้ถ้านำมารวมคำนวณภาษี