Back

การยกเลิก ห้างหุ้นส่วน จำกัด ต้องทำอย่างไร

Click to rate this post!
[Total: 27 Average: 5]

การยกเลิกห้างหุ้นส่วน หมายถึง การเลิกประกอบกิจการค้าโดยนำทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ทั้งหมดออกจำหน่าย แลชำระหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วน ถ้ามีเงินเหลือจึงนำมาจ่ายคืนทุนให้กับผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ขั้นตอนที่สำคัญของการเลิกห้างหุ้นส่วนคือ การชำระบัญชี สาเหตุของการยกเลิกห้างหุ้นส่วน
1. ในสัญญาห้างหุ้นส่วนกำหนดว่าถ้าเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งขึ้นแล้วต้องเลิกห้างหุ้นส่วนเช่น ตกลงกันว่าถ้าหุ้นส่วนคนใดไร้ความสามารถให้เลิกห้างหุ้นส่วน
2. ในสัญญากำหนดระยะเวลาในการดำเนินกิจการไว้ ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาถือว่าห้างต้องเลิกไปเช่นในสัญญาห้างหุ้นส่วนกำหนดระยะเวลาดำเนินการไว้ 10 ปี ดังนั้น เมื่อครบ 10 ปี ห้างจะต้องเลิกตามสัญญา
3. ในสัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตั้งขึ้นเพื่อทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์หนึ่ง เมื่อกิจการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ถือว่าห้างต้องเลิกไป เช่น ตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นเพื่อให้บริการจัดงานแต่งงานให้คู่บ่าวสาวจำนวน 2,000 คู่ในปี ค.ศ. 2000
4. ถ้าหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตาย หรือล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถหุ้นส่วนเป็นอันเลิกไป
5. การเลิกโดยความประสงค์ของผู้เป็นหุ้นส่วนเอง
5.1 ถ้าห้างหุ้นส่วนตั้งขึ้นโดยระบุกำหนดเวลาในสัญญาแต่หุ้นส่วนทุกคนตกลงเลิกห้างเป็นเอกฉันท์ ก็ถือว่าเลิกห้างได้
5.2 ถ้าห้างหุ้นส่วนตั้งขึ้นโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาเลิกห้าง และมีหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของห้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีไม่น้อยกว่า 6 เดือน ห้างหุ้นส่วนจะต้องเลิกตามคำบอกกล่าวของหุ้นส่วนนั้น
6. การเลิกห้างหุ้นส่วนโดยคำสั่งศาลซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดร้องขอ
6.1 เมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดละเมิอข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ในสัญญา
6.2 เมื่อการดำเนินการนั้นขาดทุนอย่างเดียวติดต่อกันและไม่มีวังจะฟื้นตัวได้อีก
6.3 มีเหตุสุดวิสัยอันทำให้ห้างไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้


ตอบ: 1. คำนวณหาผลกำไรขาดทุนของห้างหุ้นส่วน จนถึงวันชำระบัญชี แล้วแบ่งให้หุ้นส่วนตามอัตราส่วนแบ่งกำไรที่ตกลงกัน
2. จำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน แล้วแบ่งกำไรหรือขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ให้หุ้นส่วนตามอัตราส่วนแบ่งกำไรที่ตกลงกัน
3. จ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชี
4. จ่ายชำระหนี้สินของห้างหุ้นส่วนต่อเจ้าหนี้ภายนอก
5. จ่ายชำระหนี้สินของห้างหุ้นส่วนต่อเจ้าหนี้ภายใน เช่น การจ่ายค่าใช้จ่ายที่หุ้นส่วนจ่ายแทน หรือจ่ายเงินทดรองจ่ายของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือเงินกู้ของหุ้นส่วน ฯลฯ
6. จ่ายเงินสดคืนทุนให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งมี 2 วิธี
6.1 จ่ายคืนทุนครั้งเดียวเมื่อห้างขายสินทรัพย์หมดภายในครั้งเดียว
6.2 จ่ายคืนทุนเป็นงวด ๆ เมื่อห้างขายสินทรัพย์ไม่หมดภายในครั้งเดียว
การชำระบัญชีโดยจ่ายคืนทุนครั้งเดียว มี 2 กรณี
1. จ่ายคืนทุนครั้งเดียวโดยจำหน่ายสินทรัพย์มีกำไร
2. จ่ายคืนทุนครั้งเดียวโดยจำหน่ายสินทรัพย์มีผลขาดทุน

Administrator
Administrator
https://yeepou.com