Back

การตรวจสอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการบันทึกรายจ่ายทางภาษีอากร ( ตอนที่ 5 )

Click to rate this post!
[Total: 9 Average: 5]
[center][b]การตรวจสอบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการบันทึกรายจ่ายทางภาษีอากร[/b][/center] [center][b]Tax Audit & Tax Review ( ตอนที่ 5 )[/b][/center] [center] wanwan018[/center] [b]ทรัพย์สินใดบ้างที่ต้องหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา[/b]

ทรัพย์สินที่จะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคานั้น จะเป็นทรัพย์สินที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างก็ได้ แต่จะต้องมีอายุการใช้งานมากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี เช่น อาคาร ทั้งอาคารถาวร และอาคารชั่วคราว ต้นทุนเพื่อนการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชิที่สูญสิ้นไปได้ ต้นทุนเพื่อนการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า อาทิเช่น เงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้างอาคาร หรือโรงเรือนที่ได้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินเมื่อสร้างเสร็จ ซึ่งตอบแทนสิทธิการเช่าอันมีระยะเวลา ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธี สูตร ค่ากู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร สิทธิ์ประกอบ กิจการตามใบอนุญาตลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น และทรัพย์สินอย่างอื่น เช่น รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกตแงสำนักงาน เป็นต้น

[b]ทรัพย์สินทุกประเภทหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้จริงเหรอ[/b]

ทรัพย์สินส่วนใหญ่หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ แต่ยังคงมีสินทรัพย์บางประเภทที่จัดเป็นข้อยกเว้น เนื่องจากเป็นทรัพย์สินถาวรที่โดยสภาพของทรัพย์สินไม่มีวันสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้ มีแต่ราคาจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อาทิเช่น ที่ดิน เพชรพลอย อัญมณี แร่ธาตุ รวมทั้งทรัพย์สินถาวรที่ยังไม่พร้อมจะใช้งาน เช่น อาคารระหว่างก่อสร้าง เครื่องจักรระหว่างติดตั้ง เป็นต้น

[b]เริ่มหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้เมื่อใด[/b]

ประมวลรัษฎากร กำหนดว่า การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ให้คำนวณหักตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา หมายความว่า ให้เริ่มได้ตั้งแต่ที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในสภาพร้อมใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นไปตามหลักการของทั้งภาษีอากรและทางบัญชีและยังมีตัวอย่างของแนวคำพิพากษาของศาลฎีกา ดังนี้
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนนั้น ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี (5) มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรออกคำสั่งยกเว้นให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ทั้งตามคำสั่งของสรรพากรที่ ท.ป.72/2540 อธิบดีกรมสรรพากรออกคำสั่งดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเนื่องจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราให้สามารถคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าวได้ ไม่มีข้อความใดยกเว้นความในมาตรา 65 ตรี (5) แต่อย่างใด ส่วนการหักค่าเสื่อมราคาละค่าสึกหรอตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากรฯ นั้น ต้องเป็นการลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพพร้อมใช้งานหรือใช้ประโยชน์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโรงงานของโจทก์อยู่ในสภาพดังกล่าว จึงไม่อาจนำผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งมีรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยอาศัพคำสั่งสรรพากรที่ ท.ป.72/2540 ได้

[b]แหล่งอ้างอิง :[/b] เอกสารภาษีอากร (ธรรมนิติ)

[center]+++++ wanwan006 wanwan006 +++++[/center]

Administrator
Administrator
https://yeepou.com